Background



แหล่งท่องเที่ยว
เรือเจ้าแม่ธารทิพย์
4025
3 ตุลาคม 2561

เรือเจ้าแม่ธารทิพย์

       "เรือเจ้าแม่ธารทิพย์"  จัดอยู่ในเรือยาวประเภท 40 ฝีพายลงมา ชนะเลิศเรือยาวแห่งประเทศไทย ปี 2529 ,2530, 2531 ในประเภทเรือยาวกลาง 40 ฝีพาย อำเภอเคียนซาจึงได้จัดสร้างเรือยาวขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี และโดยความร่วมมือร่วมใจของประชาชนชาวอำเภอเคียนซา คือ เรือเจ้าแม่ธารทิพย์ และอำเภอเคียนซาแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานในเรื่องเรือยาวของอำเภอขึ้น มีทั้งสิ้น 16 คน โดยมี ร.ต.ชัยยุทธ กลิ่นพงศ์ นายอำเภอเคียนซา ในขณะนั้น เป็นประธานคณะกรรมการได้มอบหมายให้นายระวัง คงอุดหนุน นายวิมล วุฒิพงษ์ นายถาวร พลวิชัย หาไม้ที่จะทำการขุดเรือยาว ในที่สุดได้ไม้ที่เขาถ้ำฆ้อง จึงได้ทำการโค่นไม้ขนาดรอบวง 3 เมตร ยาว 12 วา จำนวน 2 ท่อน จึงได้ทำการชักลากและบรรทุกออกจากป่าโดยรถบรรทุกโรงเรื่อยของ นายยุทธศักดิ์ วงศ์เจริญ โดยการนำของกำนัลทวิญ สุราษฎร์ กำนันตำบลเคียนซา มายังวัดเพ็งประดิษฐาราม ซึ่งเป็นสถานที่ขุดเรือส่วนอีกลำรับงบประมาณ งบโครงการพัฒนาชนบทและชุมชนปี 2528 ตามข้อเสนอของนายบัญญัติ บรรทัดฐาน นายสิทธิพร โพธิ์เพชร และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งนายแพทย์สุนทร ทวีพานิชย์เป็นผู้ประสานงาน เรือลำนี้ให้ชื่อว่าเรือใต้ร่มเย็นคณะกรรมการได้มอบหมายให้ผู้ใหญ่สวัสดิ์ ฮั่นสกุล และนายศิริชัย แซ่บ่าง (โก้หยุย) เป็นผู้ดำเนินการในการหาช่างมาขุดเรือ และทั้ง 2 ท่านได้ติดต่อช่างขุดเรือที่มีความชำนาญมาจากอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ซึ่งเป็นคนเดียวกับที่ขุดเรือเจ้าแม่ตาปี ชื่อนายสุวรรณ ฤทธิโสม (ช่างดำ) ในการควบคุมการขุดเรือ คณะกรรมการได้นิมนต์ท่านพระครูวิธาร ธุราธร เจ้าอาวาสวัดเพ็งประดิษฐาราม ช่วยดูแลการขุดเรือ ให้เป็นไปตามความมุ่งหมายของคณะกรรมการ ช่างดำ ได้ทำการขุดเรือทั้งสองลำเมื่อปลายเดือนธันวาคมปี 2527 แล้วเสร็จสิ้นต้นเอนพฤษภาคมในปี 2528 สมัย ร.อ.สำราญ สุราษฎารมณ์ เป็นนายอำเภอเคียนซา ใช้เวลาในการขุด 6 เดือนจึงแล้วเสร็จต่อมาทางจังหวัดได้นำเรือเจ้าแม่ธารทิพย์ไปเก็บรักษาไว้ที่วัดเพ็งประดิษฐาราม โดยมีอาจารย์ไพบูลย์ ศรีสวัสดิ์ทำพิธีเบิกเนตรเรือเจ้าแม่ธารทิพย์เป็นคนแรก

สาเหตุที่ตั้งชื่อว่าเจ้าแม่ธารทิพย์

มีความเป็นมาดังนี้เมื่อประมาณปี ๒๕๒๘ ได้มีพระเถรานุเถระชั้นผู้ใหญ่ของจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน ๙ รูปได้มาเจริญพระพุทธมนต์ในตลาดอำเภอเคียนซา และได้จำวัดที่วัดเพ็งประดิษฐาราม ในคืนนั้นพระภิกษุรูปหนึ่งได้ฝันว่ามีชายแก่กับหลานสาวชายแก่คนนั้นได้บอกกับพระภิกษุรูปนั้นว่า ตนเองเป็นลุงมากับหลานสาวชื่อธารทิพย์ ตนเองคงจะอยู่ที่นี่ได้ไม่นาน ขอฝากหลานสาวไว้ด้วยและขอเงินจำนวน ๒๐๐๐บาท เพื่อจะนำเงินไปทำสวน ท่านพระครูวิธาร ธุรวาสเจ้าอาวาสวัดเพ็งประดิษฐาราม เมื่อได้รับการบอกเล่าในเรื่องนี้จึงมีความคิดว่า คนแก่คงจะเป็นเรือยาวลำหนึ่งซึ่งเป็นไม้ที่มีอายุแก่กว่าคือเรือใต้ร่มเย็นส่วนอีกลำหนึ่งซึ่งเป็นไม้ที่มีอายุอ่อนกว่าน่าจะเป็นหลานสาวคณะกรรมการเรือยาวของอำเภอเคียนซา เห็นว่าควรจะตั้งชื่อเรือลำนี้ว่าธารทิพย์วารี แต่เห็นว่าวารี ควรจะตัดออกไปใช้แต่เพียงธารทิพย์คำเดียวแต่เพื่อให้เป็นตบะน่าเกรงขาม จึงได้เติมคำว่าเจ้าแม่ไปไว้ข้างหน้าด้วย จึงได้ตงลงตั้งชื่อเรือลำนี้ว่าเจ้าแม่ธารทิพย์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาส่วนเรือที่เป็นไม้อายุแก่กว่าต่อมาภายหลังตั้งชื่อว่าใต้ร่มเย็นการแข่งขันครั้งแรกของเรือเจ้าแม่ธารทิพย์ เริ่มขึ้นในงานประเพณีชักพระทอดผ้าป่าประจำปี ๒๕๒๘ ในวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๒๘

เริ่มขึ้นในพิธีการแข่งขันเรือยาว ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้ให้เกรียติมาเป็นประธานโดยมีเรือยาวคู่เปิดสนามระหว่างเรือเจ้าแม่ตาปีกับเรือเจ้าแม่ธารทิย์ ปรากฎว่าเรือเจ้าแม่ธารทิพย์แพ้เรือเจ้าแม่ตาปีเนื่องจากประเภทของเรือแตกต่างกัน และในการแข่งขันเรือยาวขนาดกลาง ๔๐ ฝีพายลงมา เรือยาวเจ้าแม่ธารทิพย์ได้รับรางวัลที่ ๓ ซึ่งเป็นการแข่งขันครั้งแรก เนื่องจากเรือยังมีข้อบกพร่องอยู่หลายประการ เช่น เรือยังไม่ได้รับการตกแต่งให้ได้มาตรฐานฝีพายยังไม่มีความพร้อมเท่าที่ควรการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้จัดการแข่งขันเรือยาวชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ที่ศูนย์ศิลปาชีพพิเศษบางไทร ตำบลบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระหว่างวันที่ ๑-๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙ ได้คัดเลือกเรือเจ้าแม่ธารทิพย์ โดยมอบหมายให้นายทะนงศักดิ์ ทวีทองสมาชิกสภาจังหวัดสุราษฎร์ธานี เขตอำเภอพุนพิน เป็นผู้จัดการทีม และมอบหมายให้นายประสงค์อุดมสัตยานุกิจ นายเสรม ยมนา รับผิดชอบด้านฝีพาย-ซึกซ้อมโดยรวบรวมฝีพายจากบ้านค้อ วัดมะปริง และหัวเกาะบ้านดอน นำเรือเจ้าแม่ธารทิพย์ไปทำการแข่งขันในประเภทเรือกลางขนาด ๔๐ ฝีพายลงมา ซึ่งก่อนไปได้ให้นายสุวรรณ ฤทธิโสม (ช่างดำ)ปรับแต่งเรืออีกครั้งหนึ่งผลปรากฏว่าเรือ เจ้าแม่ธารทิพย์ ได้รับรางวัลชนะเลิศ โดยชิงกับเรือเทพประทุม จากจังหวัดประทุมธานีได้รับรางวัลถ้วยพระราชทานของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมารจากนั้นในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๓๐ เรือเจ้าแม่ธารทิพย์ได้รับการคัดเลือกให้ไปทำการแข่งขันเรือยาวชิงชนะเลิศ แห่งประเทศไทย ณ ศูนย์ศิลปาชีพพิเศษบางไทร ตำบลบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระหว่างวันที่ ๖-๘ พฤศจิกายน ๒๕๓๐ ปรากฏว่าเรือเจ้าแม่ธารทิพย์ ได้เข้าชิงชนะเลิศกับเรือเทพโสภณ จากจังหวัดราชบุรี และสามารถนำชัยชนะมาให้จังหวัดสุราษฎร์ธานีได้เป็นปีที่ ๒ ติดต่อกัน ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๓๑ เรือเจ้าแม่ธารทิพย์ ได้สร้างเกียรติประวัติอีกครั้งหนึ่งโดยได้เข้าชิงชนะเลิศกับเรือเทพสร้อยทองจากจังหวัดพิษณุโลก ในการแข่งขันเรือยาวชิงชนะเลิศแงประเทศไทยครั้งที่ ๓ ที่ศูนย์ศิลปาชีพพิเศษบางไทร ตำบลบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชนะเลิศติดต่อกันเป็นปีที่ ๓ ในประเภทเรือยาวกลางขนาด ๔๐ ฝีพายลงมานับเป็นเกียรติประวัติของเรือเจ้าแม่ธารทิพย์ที่ได้นำชื่อเสียงมาสู่จังหวัดสุราษฎร์ธานีสำหรับฝีพายหลักของเรือเจ้าแม่ธารทิพย์ในการแข่งขันเรือยาวชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๕๒๙-๒๕๓๑ ประกอบด้วย

  • นายหัว นายสุเทพ อินทรช่วย
  • นายท้าย นายไพศาล ปราบสุวรรณ
  • หัวหน้าทีม นายชาญณรงค์ ธรรมปรีชา โดยใช้ฝีพายจากชาวบ้านค้อ
  • นายทะนงศักดิ์ ทวีทอง ผู้จัดการทีม
  • นายประสงค์ อุดมสัตยานุกิจ ผู้ช่วยผู้จัดการทีม
  • นายเสริม ยมนา ผู้ช่วยผู้จัดการทีม

 

 

 

 

ประวัติเรือเจ้าแม่ธารทิพย์

 

       นายถาวร พลวิชัย : เรียบเรียง

นางจรีพร อิสสระทะ : บันทึก

 

         ปลายเดือนมีนาคม พ.ศ.2525 ท่าพระครูวิธารธุราทร เจ้าอาวาสวัดเพ็งประดิษฐาราม ที่เคียนซาของทุกๆ คน แต่ผมขอใช้ชื่อท่านในรายการนี้ว่า “น้าหลวงเพิ่ม” ตามที่ชาวบ้านเรียกกันเป็นส่วนใหญ่

          น้าหลวงเพิ่มไปที่โรงเลื่อยจักรสุธรรมเจริญ โดยมีนายประวิช วุฒิพงษ์ ดำรงตำแหน่งผู้จัดการ ซึ่งน้าหลวงเพิ่มพูดขึ้นว่าอยากได้เรือยาวมาไว้ที่วัดเพ็งประดิษฐารามสัก 1 ลำ นายประวิช วุฒิพงษ์ ก็บอกน้าหลวงเพิ่มว่า เดี๋ยวต้องให้ถาวรลงมาจากป่าและมาถามดู เมื่อผมลงจากป่าน้าวิช วุฒิพงษ์ (ผมของเรียกนายประวิช วุฒิพงษ์ ว่า “น้าวิช” เพราะผมทำงานก็ต้องรอคำสั่งจากน้าวิชตามขั้นตอนของหน้าที่การงาน) น้าวิชก็บอกผมเรื่องเรือยาว ผมก็บอกน้าวิชว่าผมกลับขึ้นบนป่าจะไปปรึกษานายพรมมา บุญชู (ซึ่งเป็นผู้ชำนาญเรื่องป่า) เมื่อผมกลับขึ้นป่าซึ่งเป็นหน้าที่งานประจำก็ได้ปรึกษานายพรมมา บุญชู เรื่องไม้เรือยาว นายพรมมาก็บอกว่าไม้มี หลังจากนั้นพอมีเวลาก็ไปดูไม้ ปรากฏว่าไม้มีจำนวน 7 ต้น แต่ใช้ได้ 3 ต้น และเป็นไม้ที่ยาว กลม ตรง ไม่มีตุ่มตา

          ขั้นตอนต่อไปก็ดำเนินการเรื่องโค่นตัด โดยให้นายศิริชัย แซ่บ่าง (โก้หยุย) เป็นผู้ประสานงานภายใน (พื้นที่สีแดง) เมื่อทุกอย่างเป็นไปด้วยความเรียบร้อยก็ดำเนินการโค่นตัด ผมก็ไปหานายสุรินทร์ ด้วงเพชร ผู้ซึ่งรับโค่นตัดไม้ของโรงเลื่อยอยู่มีอุปกรณ์ครบ ก็ได้คุยกันเรื่องไม้เรือยาวและนักวันโค่นตัด

          เช้าของวันที่นัดโค่นตัด ผมก็บอกนายวีระ แซ่บ่าง ว่าหลังจากส่งน้ำมันให้เครื่องมือหนักและพนักงานทุกแผนกเรียบร้อยแล้ว (นายวีระ แซ่บ่าง เป็นพนักงานขับรถจิ๊ปขับเคลื่อน 4 ล้อ) ให้นายวีระเลยไปรับนายสุรินทร์ ด้วงเพชร ซึ่งรออยู่ที่บ้าน แล้วมารับนายถาวรที่ทับบริษัท สำหรับผมขณะที่รออยู่ ผมก็ได้เตรียมธูปจำนวน 9 ดอก เทียน 3 เล่ม พร้อมด้วยไม้ขีดไฟ

          เมื่อนายวีระ แซ่บ่าง พร้อมด้วย นายสุรินทร์ ด้วงเพชร มาถึงก็ได้ขึ้นรถจิ๊ปไปที่ไม้ แต่วันโค่นตัด นายพรมมา บุญชู ไม่ได้ไปเพราะติดงานจากที่ทับบริษัทไปที่ไม้ระยะทางก็น่าจะอยู่ที่ 5 กิโลเมตร รถวิ่งไปจอดอยู่บนถนนก็ได้เริ่มสำภาพระทุกอย่างเดินเข้าไปที่ต้นไม้ต้นแรกซึ่งอยู่ในอ่าวเขา พอไปถึงต้นไม้ต้นแรกทุกคนก็วางของลง นายสุรินทร์ ด้วงเพชร ก็ดำเนินการเรื่องเครื่องโค่นตัดไม้เพื่อความพร้อม และผมก็ก็บอกนายสุรินทร์ ด้วงเพชร ว่าขอเวลานิด ผมก็เอาธูป 3 ดอก พร้อมด้วยเทียน 1 เล่ม อยู่ที่โคนไม้ ผมก็ได้จุดธูปเทียนและยกมือไหว้นางไม้ (ตามประสา) และผมก็ได้ยกมือไหว้ไม้อีก 2 ต้นที่เหลือก่อนโค่นตัดเหมือนต้นแรก

          ทุกอย่างก็ผ่านไป ผมก็บอกให้นายสุรินทร์ ทำการโค่นโดยไม่ขัดข้องและอุปสัคใดๆ เมื่อต้นแรกล้มแล้วก็ไม่ต้องวัดความยาวเอาที่แตกกิ่งก้านของส่วนที่ยาวที่สุดของไม้เป็นจุดที่ใช้เครื่องตัดปลาย ต้นแรกโค่นตัดเรียบร้อยผมก็นำไปโค่นตัดต้นที่ 2 และต้นที่ 3 เป็นอันเสร็จขั้นตอน

          มีอยู่วันหนึ่งผมลงจากป่า ผมก็เลยถือโอกาสไปหาน้าหลวงเพิ่มที่วัด เจอน้าหลวงเพิ่มผมก็บอกให้น้าหลวงเพิ่มเอาไม้ท่อนกลางไว้เพราะไม้จำนวน 3 ต้น ในสายตาผมสวยที่สุด น้าหลวงเพิ่มก็พูดขึ้นว่า “ขอบใจมาก” (ไม้ท่อนที่ผมบอกน้าหลวงเพิ่มก็คือเจ้าแม่ธารทิพย์ที่ทุกคนได้สัมผัสจนถึงทุกวันนี้)

          ในเมื่อโค่นตัดเรียบร้อยแล้วแต่ไม้อยู่ที่ตอไม้ ต่อไปพวกผมจำนวน 4 คน ซึ่งเป็นผู้บริหารงานของแต่ละแผนก โดยมี

  1. นายวิมล วุฒิพงษ์
  2. นางระวัง คงอุดหนุน (เสียชีวิตแล้ว)
  3. นายถาวร พลวิชัย
  4. นายสมพร ปทะวานิช (เสียชีวิตแล้ว)

         ก็ได้ปรึกษากันเรื่องจะให้รถไปชักลากออกให้ถึงทางโดยให้งานบริษัทไม่มีคิวลากไม้ หลังจากนั้นประมาณ 7 วัน ก็มีวันว่างเลยได้เรียกพนักงานรถลากซุงให้รู้ในช่วงเย็น ก่อนวันไปลากไม้เรือยาวซึ่งคนขับรถลากซุงก็คือนายสมพร รักษ์พันธ์พงษ์ (ปัจจุบันอยู่ที่กระซุม) มีนายเจริญ แซ่ลิ้ม (ปัจจุบันอยู่ที่โรงเลื่อยเคียนซา) วันที่รถไปลากไม้ผมติดงานไม่ได้ไปทำแต่บังเอิญนายพรมมา คงอุดหนุน ว่างก็เลยให้นำรถไปลากไม้ ก็ใช้เวลาค่อนครึ่งวันเพราะไม้ยาวลากยากมากแต่ก็ถึงทางหมดทั้ง 3 ท่อน เมื่อออกถึงทางรถบรรทุกแล้วต่อไปก็เป็นเรื่องรถที่จะเอาไม้ถึงปลายทางผมก็ทำงานอยู่บนป่าตามปรกติ ถึงวันที่ผมจำเป็นลงมาที่โรงเลื่อย (เพราะผมรับภาระเรื่องอาหารของคนงาน) ผมก็ได้บอกน้าวิชว่าไม้เรือยาวลากออกถึงทางเรียบร้อยแล้ว ผมคิดว่าคงหมดภาระหน้าที่ผม แต่เรื่องที่จะเขียนต่อไปก็คือไม้เรือยาวอยู่ในป่ายังไม่ถึงวัดเพ็งประดิษฐาราม ผมก็จะบรรยายให้ทุกท่านได้ทราบ

         ผมก็ได้ติดตามเรื่องรถบรรทุก หลังจากนั้นอีกไม่กี่วันรถบรรทุกไม้ 2 คัน เป็นรถของนายยุทธศักดิ์ วงษ์เจริญ (ผมเข้าใจว่าน้าหลวงเพิ่มต้องไปขอรบกวนนายยุทธศักดิ์ วงษ์เจริญแน่) รถบรรทุก 2 คัน ก็มีคนขับ คือ นายสำรวย สามงามพุ่ม และนายประคอง พิรัตน์ รถบรรทุกไม้ทั้ง 2 คัน ได้ไปที่ทับบริษัท ขณะเดียวกันก็มีรถบรรทุกอีก 1 คัน ซึ่งมากจากบ้านดอน เป็นที่รู้กันแล้วว่าไม้เรื่อยางอีก 1 ลำ จะให้ไปที่ท่าข้ามหรือบ้านดอน แต่การให้เป็นที่รับทราบของน้าหลวงเพิ่มแล้ว เพราะน้าหลวงเพิ่มเป็นผู้อนุมัติ พวกผมก็ได้แต่ติดตามข่าวเพียงแต่รู้ว่าเมื่อไปทำการเป็นเรือยาวแล้วไม่แน่ชัดว่า “ใต้ร่มเย็น” หรือ “พระยาท่าข้าม” (ไม่ขอยืนยัน)

         วันที่รถบรรทุกทั้ง 3 คัน อยู่ที่ทับบริษัทพร้อมจะไปทุกไม้เรือยาว วันนั้นนายระวัง คงอุดหนุน ได้นั่งรถไปด้วยแต่ค่อยออกไป ผมเข้าไปสะกิดนายระวังว่า “ไม้ต้นใหญ่กับต้นกลางจะให้เอาไปที่เคียนซา” นายระวังก็บอกผมว่ารู้แล้ว และรถทั้ง 3 คันก็วิ่งไปที่ไม้และได้ขึ้นไม้มาวิ่งผ่านทับบริษัท ผมติดงานอยู่ในป่าคนละเส้นทาง รถบรรทุกก็ลงมาเรื่อยจนผ่านหน้าเขา เลยลงมาไม่มากมันเหมือนกับว่าไม่ยอมมา เดี๋ยวติดขัดโน่นนิดนี่หน่อย ทุกคนก็พยายามทำทุกวิถีทาง รู้สึกว่าทุกคนคิดกันไปต่างๆ นาๆ ทุกคนก็เงียบ นายสำรวย สามงามพุ่ม พูดขึ้นว่า “ถ้าเป็นแบบนี้ต้องไปรับน้าหลวงเพิ่มให้มารับ” ก็ขอรวมว่าเมื่อน้าหลวงเพิ่มไปถึง ผมขอเสริมเองว่า เมื่อเจ้าแม่นางไม้เห็นเกจิอาจารย์ไปรับด้วยตนเอง ขอเดาว่าอาจารย์ก็คงใช้คำพูด คำเชิญ ตามภาษาบาลีหรืออะไร (ซึ่งพวกผมไม่สามารถรู้ได้)

         จากนั้นก็ใช้เวลาอีกไม่นานสิ่งที่ติดขัดทั้งหลายเหมือนกับอภินิหารกลับกลายเป็นดี จากนั้นคนขับรถทั้ง 3 คน ก็ขึ้นไปบนรถติดเครื่อง ดูโน่นนี่เผื่อยังมีอะไรติดขัดก็ไม่มีอะไร น้าหลวงเพิ่มก็บอกว่าไปกันได้แล้ว โดยมีน้าหลวงเพิ่มนั่งรถนำหน้ามาถึงวัดเพ็งประดิษฐาราม แต่กว่าจะเอาเข้าที่ช่างมาขุดเรือก็ลำบากพอสมควร สาเหตุเพราะความยาวของไม้

         เมื่อได้เข้าที่เรียบร้อย หลังจากนั้นช่างที่จะขุดเรือยาวก็มาพักอยู่ที่วัด น้าหลวงเพิ่มก็อยู่ใกล้ชิดตลอด ผมเข้าใจว่าน้าหลวงยืนดูน่าจะคิดว่ายาวเกินไปเลยให้ช่างที่มาขุดเรือตัดฝ่ายปลายออกเสีย 5 เมตร (10 ศอก) ส่วนที่ตัดออกก็บรรทุกไปโรงเลื่อยแปรรูปเป็นไม้พายทั้งหมด

         สุดท้ายที่เรียบเรียงมาตั้งแต่ต้นก็อยู่บนความเป็นจริงและตามขั้นตอนของการดำเนินการทั้งหมดและไม่สามารถระบุวันที่ตัดโค่นได้แต่อยู่ในเดือนมีนาคม 2525