ข่าวประชาสัมพันธ์
๒๖ มิถุนายน วันสุนทรภู่ ✍️
26 มิถุนายน 2566

517


๒๖ มิถุนายน วันสุนทรภู่ ✍️
 
"สุนทรภู่" กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้นิพนธ์วรรณคดีไทยหลายเรื่องทั้ง พระอภัยมณี ขุนช้างขุนแผน สุภาษิตสอนหญิง ซึ่งไทยยกเป็นยอดกวี และกำหนดให้วันที่ ๒๖ มิ.ย.เป็นวันสุนทรภู่ "...แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน.."
 
บทกลอนจากเรื่อง "พระอภัยมณี" ซึ่งคุ้นหูคนไทยมาอย่างยาวนาน โดยเป็นฝีมือของ "สุนทรภู่" กวีเอกของไทย เป็นผู้แต่ง นอกจากนี้ สุนทรภู่ ที่ได้รับการยกย่องในระดับโลกจากยูเนสโกให้เป็นบุคคลดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม โดยถือเป็นสามัญชนคนแรกของไทยที่ได้รับเกียรตินี้ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙
 
"สุนทรภู่" มีชื่อเดิมว่า "ภู่" เกิดในสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อวันจันทร์ เดือน ๘ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๔๘ เวลาเช้า ๒ โมง (ตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๒๙) ณ บริเวณด้านเหนือของ “พระราชวังหลัง” หรือก็คือ บริเวณสถานีรถไฟบางกอกน้อยในปัจจุบันนี้ เชื่อว่า หลังจากสุนทรภู่เกิดได้ไม่นาน บิดามารดาก็หย่าร้างกัน
 
ผลงานของสุนทรภู่มีเป็นจำนวนมาก ดังนี้
นิทานจำนวน ๕ เรื่อง ได้แก่ โคบุตร, พระอภัยมณี, พระไชยสุริยา, ลักษณวงศ์, สิงหไกรภพ
นิราศ จำนวน ๙ เรื่อง นิราศเมืองแกลง, นิราศพระบาท, นิราศภูเขาทอง, นิราศสุพรรณ, นิราศวัดเจ้าฟ้า, นิราศอิเหนา, รำพันพิลาป, นิราศพระประธม, นิราศเมืองเพชร,
 
สุภาษิต จำนวน ๓ เรื่อง สวัสดิรักษา, เพลงยาวถวายโอวาท, สุภาษิตสอนหญิง, บทละคร 1 เรื่อง
 
บทละครและบทเสภา จำนวน ๓ เรื่อง บทละครอภัยนุราช, บทเสภาขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม, บทเสภาพระราชพงศาวดาร
 
ในวันสุนทรภู่ โรงเรียนและหน่วยงานต่าง ๆ มักที่จะจัดกิจกรรม เช่น ประกวดแต่งกลอน แสดงละครเวทีและอื่น ๆ เพื่อเสริมสร้างจินตนาการและอนุรักษ์ภาษาไทย